วิธีป้องกันมือถือเปียกน้ำ
1. ถุงพลาสติก
วิธีนี้จัดว่าง่ายสุดและประหยัดสุด เป็นวิธีแบบบ้าน ๆ เลย แค่หาถุงพลาสติกทั่วไป (พวกถุงแกงใส่กับข้าวนั่นแล) แล้วเอามือถือใส่ลงถุง จากนั้นก็เอาหนังยางรัดให้แน่น แค่นี้ก็สามารถกันน้ำได้ เหมาะที่จะใช้เป็นวิธีฉุกเฉินที่สุดในกรณีที่ไม่สะดวกใช้วิธีอื่น ๆ
2. ฟิล์มถนอมอาหาร
อีกหนึ่งวิธีบ้าน ๆ ก็คือการใช้ฟิล์มถนอมอาหารหรือที่หลายคนเรียกว่า Wrap นั่นเอง แค่ดึงออกมาจากม้วนแล้วพันคลุมมือถือให้มิด ไม่เหลือช่องว่างให้น้ำเข้าไปได้ ยิ่งพันหนามากเท่าไหร่ก็ยิ่งกันน้ำได้ดีขึ้นเท่านั้น
3. ซองกันน้ำ
หาซองแบบที่มีซิบหรือที่รูดปิดได้ ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบหลายขนาด แบบมีที่ห้อยคอก็มี โดยนอกจากจะเอาไว้ใส่มือถือได้แล้ว ก็ยังเอาไว้ใส่ของอย่างอื่นได้อีกด้วย สามารถหาซื้อได้ไม่ยากและส่วนใหญ่ในบริเวณที่เล่นสงกรานต์ก็มักจะมีขายกันอยู่แล้ว
หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าประโยชน์ของถุงยางอนามัยนั้นนอกจากจะช่วยป้องกันโรคติดต่อและการตั้งครรภ์แล้ว ยังสามารถกันน้ำได้ด้วย! สำหรับวิธีก็แค่เอาถุงยางสวมมือถือ แค่นั้นแหละ กันน้ำได้แล้ว อ้อ อย่าลืมเอาหนังยางรัดปากถุงยางด้วยนะ
5. เคสหรือฟิล์มกันน้ำ
ตอนนี้มีการผลิตเคส ซอง และฟิล์มกันน้ำสำหรับใช้กับมือถือโดยเฉพาะมาขายกันแล้ว ซึ่งถูกผลิตมาให้มีขนาดพอดีกับมือถือ สามารถซื้อมาแล้วใส่ได้ทันที แต่สำหรับเคสนั้นอาจต้องหาแบบที่ขนาดพอดีรุ่นซักหน่อย
6. ซื้อมือถือกันน้ำมาใช้
วิธีนี้ต้องใช้งบเยอะหน่อย (ก็ไม่หน่อยนะ ฮา…) ก็คือซื้อมือถือรุ่นที่สามารถกันน้ำได้มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถกันน้ำกระเด็นหรือโดนน้ำสาดใส่ได้ดีอยู่แล้ว จึงสามารถใช้งานตามปกติขณะเล่นน้ำได้สบายหายห่วง ไม่ต้องใส่ถุงหรือเคสกันน้ำใด ๆ ทั้งสิ้น ใครที่กำลังคิดจะซื้อมือถือใหม่อยู่พอดีก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี
เผลอทำมือถือเปียกน้ำซะแล้ว ทำไงดี ?
1. ใจเย็น ๆ ตั้งสติก่อนเลยเป็นอันดับแรก อย่าตกใจจนรีบกดปุ่มโน่นนี่เพื่อเช็กว่ามือถือพังหรือยัง เพราะนั่นจะยิ่งทำให้น้ำเข้าเครื่องมากขึ้น โดยให้รีบเช็ดน้ำที่เปียกภายนอกเครื่องให้หมด
2. ถ้าเป็นรุ่นที่สามารถถอดแบตเตอรี่ได้ ให้เปิดฝาหลังแล้วแกะแบตเตอรี่ออกทันที แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ถอดแบตไม่ได้ ให้กดปุ่มปิดเครื่องแทน แต่ถ้าบริเวณปุ่มเปียกน้ำให้เช็ดให้แห้งก่อน และห้ามกดเปิดเครื่องอีก ย้ำ! ห้ามเปิดเครื่องอีก
3. ค่อย ๆ ถอดชิ้นส่วนที่สามารถถอดได้ออกทีละชิ้น เช่น ซิมหรือเมม แล้วเอาผ้าเช็ดน้ำให้แห้ง หรืออาจใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดเบา ๆ เพื่อดูดน้ำที่ติดอยู่ตามซอกในเครื่องออก แต่ต้องระวังอย่าดูดใกล้หรือแรงไป
4. ห้ามเป่าด้วยไดรเป่าผมหรือนำไปตากแดด เพราะความร้อนอาจทำให้แผงวงจรและเครื่องเสียหายได้
5. นำตัวเครื่องและชิ้นส่วนที่เปียกน้ำไปแช่ในถังข้าวสารหรือวัตถุดูดความชื้นประมาณ 2 วัน เพื่อให้ดูดซับความชื้นออกจากตัวเครื่อง
6. เมื่อครบ 2 วันแล้วให้ลองนำชิ้นส่วนมาประกอบกลับเข้าเครื่องแล้วลองเปิดเครื่องดูว่าสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
7. ถ้าสุดท้ายแล้วไม่รอด เครื่องพัง ส่งศูนย์ซ่อมโลดเลยจ้าาาาา
เครดิตภาพจาก: Digitaltrends