เป็นกระแสบน Social หลังจากที่หลายๆ คนใช้แอป หมอชนะ (MorChana) แล้วพบว่า มีการร้องขอสิทธิอนุญาตของแอปเยอะมาก แถมยังให้เปิด Bluetooth ซึ่งหลายๆคน มองว่าเปลืองแบต และมีบางคนใช้แล้วเปลืองเน็ตอีกต่างหาก

แอป หมอชนะ อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ภาครัฐ ทราบว่าเรามีความเสี่ยงในระดับใดในการสัมผัสเชื้อ COVID-19 จนถึงกับมีการร้องขอให้ทุกคนดาวน์โหลดแอปนี้ติดมือถือไว้ ถ้าเกิดป่วยขึ้นมา แล้วตรวจสอบจากแอปก็จะตรวจสอบได้ง่ายและมีข้อมูลเทียบเคียงไทม์ไลน์ ได้แม่นยำขึ้น

ถ้านับดูแล้ว ข้อดีของแอปหมอชนะ ดีมากๆ คือใช้ Bluetooth เป็นตัวกลางในการสัมผัสกับคนอื่นๆ ที่มีมือถือติดตั้งแอปนี้เหมือนกัน สแกนคนใกล้ตัว คนไหนเสี่ยงก็เตือนเรา

ผู้เขียน ได้ทดลองใช้แอป หมอชนะ ก่อนมีประเด็นข่าว 1 วัน ซึ่งจากการดาวน์โหลดมาใช้ ก็พบว่า ใช้การยืนยันตัวตน ถ่ายภาพใบหน้าเรายาก ต้องหันมุมให้แสงสว่างพอดีและต้องเห็นใบหน้าชัดเจน เรียกได้ว่าต้องใช้เวลากับการถ่ายเซลฟี่ตัวเองเป็นนาทีอยู่เหมือนกัน

ในส่วนของแอปนั้น อ้างอิงจากที่ระบุบน PlayStore ระบุว่า แอปมีการขอสิทธิอนุญาตในการเก็บข้อมูลและเปิดใช้อุปกรณ์

  • อุปกรณ์และประวัติแอป
  • ตำแหน่ง ใช้ network-based และ GPS
  • รูปภาพ/สื่อ/ไฟล์
  • พื้นที่เก็บข้อมูล
  • กล้อง
  • รับข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ตรวจสอบการเชื่อมต่อ เชื่อมต่อ Bluetooth เข้าถึงการตั้งค่า Bluetooth
  • ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ sleep

ในส่วนของภาพที่แชร์กันว่า แอปมีการจัดเก็บข้อมูลและขอสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเยอะ ทางผู้พัฒนาได้เข้ามาชี้แจงแล้ว อ่านที่นี่ และจากเสียงบนโซเชียล บ่นว่าใช้แบตเปลืองมาก และมีการใช้ GPS ตลอด

อ้างอิงข้อมูลจาก การเก็บรวบรวมข้อมูลของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ที่มา

อ้างอิง Privacy Policy MorChana

อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) Digital Government Development Agency (Public Organization) (DGA) ได้ตอบข้อสงสัย แอปหมอชนะเข้าถึงข้อมูลอะไรบ้าง ดังนี้

อ้างอิงที่มา จากเพจ DGA Thailand

ล่าสุด แอป หมอชนะ ไม่ได้เข้าถึง ประวัติการใช้งาน ไมค์ และ Wi-Fi

จากการทดสอบ อาจจะเป็นเพราะว่าผู้เขียนไม่ได้ออกนอกบ้านเลย เพราะ Work From Home ทำให้ใช้แบตไปเพียง 1% เท่านั้น

เอาเป็นว่าเรารู้จักแอปหมอชนะกันแล้ว ว่ามีประโยชน์ในการเชื่อมกับมือถือคนอื่น หากมีคนที่ไปสถานที่เดียวกับเรา ติดเชื้อ ในช่วงเวลาเดียวกัน เดินสวนกัน เราก็จะรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยง น่าเสียดายอย่างเดียวคือการประชาสัมพันธ์แอปนี้ ถ้าบอกให้เราตระหนักว่า แอปนี้มี Bluetooth ไปแตะมือกับมือถือเครื่องต่างๆ รอบตัว เพื่อใช้ติดตาม เราใช้กันเยอะ ๆ ตั้งแต่ปีก่อน ก็น่าจะมีประโยชน์กับการสอบสวนโรคได้เร็วกว่านี้

อ้างอิงข้อมูลจาก โพสต์ของ อาจารย์ศุภเดช

Comments

comments