Google I/O จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 ซึ่งเป็นปกติที่กูเกิลจะนำเสนอฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของตัวเองทุกปี และสำหรับปีนี้เราจะมาสรุปโดยรวมว่ามีอะไรบ้างครับ โดยมาเริ่มกันที่ Android O กันก่อนเนอะ

Android O (Beta)

Android O Preview

ณ ปัจจุบันกูเกิลได้ประกาศว่ามียอดอุปกรณ์ใช้งาน Android เป็นประจำทุกเดือนถึง 2 พันล้านเครื่องแล้ว โดยตัว Android ล่าสุดคือ Android 7.0 หรือ Android N (Nougat)

ล่าสุดกูเกิลออก Android O รุ่น Preview 2 แล้ว (Preview 1 ออกไปเมื่อเดือนมีนาคม) โดยมีของใหม่ดังนี้

  • Picture-in-picture

ฟีเจอร์นี้จะคล้ายกับ Picture-in-picture ของ macOS ฝั่งแอปเปิล นั่นคือมันสามารถเล่นวิดีโอหรือทำ video calling ให้มันลอยในขณะที่กำลังทำอย่างอื่นพร้อมกันไปด้วย

Picture-in-Picture
Picture-in-Picture
  • Notification dots

มันคือ badge แจ้งเตือนแบบใหม่ที่ติดกับไอคอนแอพเลย (คล้ายของ iOS แต่ไม่มีจำนวนตัวเลขแจ้งเตือน) โดยจะขึ้นเป็นจุดสีซึ่งจะเปลี่ยนสีเองได้ตามสีของไอคอนแอพ นอกจากนั้นยังกดค้างที่แอพเพื่อให้แสดงการแจ้งเตือนได้ทันที

Notification dots
Notification dots
  • Autofill with Google

หากใครเบื่อขี้เกียจพิมพ์ user และ password ในหลายๆ แอพ Android O สามารถรองรับ Autofill ได้แล้ว โดย sign in แค่แอพเดียว ก็สามารถ Autofill กับแอพอื่นได้เหมือนกัน (นำฟีเจอร์นี้มาจาก Chrome)

  • Smart Text Selection

กูเกิลได้ใส่ machine learning ลงไปด้วยสำหรับ Text Selection (การ hightlight เลือกข้อความเป็นแถบ) โดยคราวนี้มันจะฉลาดกว่าเดิม เพราะตัว selection มันจะรู้ได้เองว่า ข้อความที่เราเลือกเป็นข้อความประเภทไหน เช่น หากเราเลือก hightlight ที่อยู่บ้าน มันก็จะโชว์ไอคอน Google Maps หรือถ้าเลือก email มันก็จะโชว์ไอคอนแอพอีเมลขึ้นมานอกเหนือจาก Copy/Paste นับว่าเป็นการเพิ่มความสะดวกของ Text Selection ได้ดีจริงๆ

Smart Text Selection แสดงแอพโทรศัพท์
Smart Text Selection แสดงแอพโทรศัพท์
Smart Text Selection แสดงแอพ Google Maps
Smart Text Selection แสดงแอพ Google Maps
  • New Homescreen for Android TV

ปรับปรุงหน้าตาโฮมใหม่ของ Android TV ให้สามารถเลือกมองหาเนื้อหาได้ง่ายขึ้น สามารถดูพรีวิวก่อนได้ และผู้ใช้ควบคุมได้ว่าจะเอาช่องไหนไว้หน้าโฮมได้เช่นกัน สามารถดูตัวอย่างการใช้งานจากสื่อต่างประเทศที่ได้ไปจับตัวจริงกันก่อนครับ

  • TensorFlow Lite

TensorFlow เป็นเอนจิน machine learning ตัวหนึ่ง ซึ่งรอบนี้กูเกิลจัดเอามาลงในมือถือเลย กลายเป็น TensorFlow Lite เพื่อช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นให้กับผู้ใช้งานเพราะปัจจุบันผู้ใช้ต้องการการประมวลผล machine learning ที่มัน real-time มากขึ้น ซึ่งเจ้าตัว TensorFlow Lite จะรองรับการทำงานได้เป็นอย่างดี และทำให้การทำงานบนสมาร์ทโฟนนั้น ลื่นไหลอย่างเป็นที่สุด

  • Vitals

เป็นชื่อเรียกกลุ่มรวมของฟีเจอร์ที่ทำให้ Android ปลอดภัยขึ้น และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบ (System optimizations) เพื่อให้แอพรันได้เร็วขึ้นและลื่นขึ้น มีเพิ่มฟีเจอร์ Background limits ที่จำกัดการรันแอพเบื้องหลังลงไม่ให้ใช้ทรัพยากรเครื่องมากเกินไปและทำให้ประหยัดการใช้งานแบตเตอรี่ไปในตัวด้วยVitals

และจากการปรับปรุงประสิทธิภาพที่ทำให้เร็วขึ้น กูเกิลเคลมการทดสอบกับ Pixel แล้วว่าสามารถเปิดเครื่องได้เร็วกว่าเดิมถึง 2 เท่า และการเปิดแอพอื่นๆ ก็ทำความเร็วได้เช่นกัน โดยกูเกิลบอกว่า Google Sheets มีคะแนน benchmarks เพิ่มขึ้นจาก Android N ถึง 2 เท่าเช่นกัน

Google Sheets Benchmark ดีกว่าเดิม 2 เท่าจาก Android 7.0
Google Sheets Benchmark ดีกว่าเดิม 2 เท่าจาก Android 7.0
  • Emoji ออกแบบใหม่ยกชุด

New emoji for Android O

มีการออกแบบอีโมจิใหม่ โดยหนึ่งในเหตุผลคือปัญหาหน้าตาอีโมจิในแต่ละค่ายหน้าตาไม่เหมือนกัน (เช่นส่งจาก Android ไป iOS) ทำให้เกิดปัญหาการสื่อสารที่ผิดพลาดขึ้นได้ โดยเปลี่ยนจากหน้า blob ให้กลายเป็นหน้ากลมเหมือนเจ้าอื่นๆ แล้ว

เปลี่ยนจากหน้า blob กลายเป็นหน้ากลม
เปลี่ยนจากหน้า blob กลายเป็นหน้ากลม

นอกจากนั้นก็ปรับปรุงสีของอีโมจิให้สดใสมากขึ้น มีการนำหลักการ Material Design มาช่วยในการออกแบบ ทั้งสีและเส้นสายเพื่อแยกแยะอารมณ์ได้ถูกต้องและชัดเจนมากขึ้น

อีโมจิใหม่ออกแบบจากพื้นฐาน Material Design
อีโมจิใหม่ออกแบบจากพื้นฐาน Material Design

นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามาตรฐาน Unicode 10 ทางกูเกิลก็ได้เพิ่มอีโมจิอีก 69 ตัวด้วย โดยผู้ใช้ Android O Beta สามารถใช้ได้ทันที่ตั้งแต่ 17 พ.ค. 2560 

เอาจริงๆ ฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน Android O (Beta) ยังมีอีกมาก ซึ่งหลักๆ ก็คือที่เสนอไปด้านบน หากอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมรวมไปถึงระดับเชิงลึก แนะนำลองเข้าไปอ่านใน Android Authority นะครับ

Android Go

กูเกิลเปิดตัว Android Go ซึ่งเป็นโครงการสำหรับสมาร์ทโฟนที่มีแรมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1GB (สำหรับสมาร์ทโฟนราคาถูกนั่นเอง) โดยที่ยังคงมีประสบการณ์การใช้งานที่ดีเยี่ยม โดยโครงการ Android Go จะมี 3 ส่วนคือ

  • OS: เป็นการปรับแต่ง Android O ให้รันได้ลื่นไหลและมีประสิทธิภาพในเครื่องที่มีสเปกต่ำ
  • Apps: เริ่มจากแอพของกูเกิลเอง เช่น YouTube Go, Chrome และ Gboard ที่จะถูกออกแบบให้ใช้แรม พื้นที่ความจำและใช้ปริมาณอินเทอร์เนต (mobile data) ที่น้อยลง
  • Play: ใน Play Store จะมีการนำเสนอแอพที่ออกแบบสำหรับ Android Go ให้ดาวน์โหลดกัน
Play Store บน Android Go จะแสดงแอพเวอร์ชัน Lite ต่างๆ เพื่อการใช้งานที่ลื่นไหลในเครื่องที่สเปกต่ำ
Play Store บน Android Go จะแสดงแอพเวอร์ชัน Lite ต่างๆ เพื่อการใช้งานที่ลื่นไหลในเครื่องที่สเปกต่ำ

Google Photos

กูเกิลประกาศยอดใช้งาน Google Photos ที่มากกว่า 500 ล้านคนแล้ว และมีรูปภาพและวิดีโอที่ถูกอัพโหลดขึ้นมากกว่า 1.2 พันล้านครั้งต่อวัน และตอนนี้กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์อีก 3 ตัว

  • Suggested Sharing: กูเกิลใช้ machine learning เพื่อแนะนำการแชร์รูปภาพระหว่างกลุ่มเพื่อนหรือครอบครัว โดยจะมีการแจ้งเตือนว่าอย่าลืมแชร์นะ มีเลือกรูปภาพให้อัตโนมัติ จับภาพคนในรูปและบอกได้อีกว่าควรแชร์รูปนี้ให้ใคร โดยกดแค่ปุ่ม “ส่ง (send)” ก็ส่งได้ทันทีพร้อมส่งเตือนไปให้คนรับว่าอย่าลืมแชร์ภาพขึ้นมาด้วยเช่นกัน (เช่น หากเป็นภาพกลุ่มไปเที่ยวหรือปาร์ตี้ด้วยกัน) ดังนั้นรูปของทุกคน จากทุกเครื่อง ใน event เดียวกัน ก็จะรวมกันที่จุดๆ เดียว อนาคตจะรองรับทั้ง Android, iOS และบนเว็บด้วย
Suggested Sharing ที่จะทำงานได้ในหลายแพล็ตฟอร์ม
Suggested Sharing ที่จะทำงานได้ในหลายแพล็ตฟอร์ม
  • Shared Libraries: เราสามารถเลือกแชร์ไลบรารีภาพ หรือไลบรารีทั้งหมดในเครื่องให้กับคนอื่นได้ เช่น อาจจะแชร์กับคู่รักของเรา สามีเราหรือภรรยาเราเป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานก็อย่างเช่น พ่อถ่ายรูปลูก แล้วแม่สามารถดูรูปได้ทันทีบน Google Photos (เสมือนถ่ายจากเครื่องเดียวกัน) และเครื่องของแม่ก็สามารถเซฟรูปลงเครื่องได้อัตโนมัติเลย สำหรับผู้แชร์ (พ่อ) ก็สามารถตั้งค่าได้เพิ่มเติม เช่น แชร์เฉพาะวันที่เริ่มต้นเมื่อไหร่ หรือแชร์เฉพาะหน้าใคร (เช่น มีแค่รูปลูกที่ถูกส่งแชร์ออกไป โดยเทคโนโลยีตรวจจับภาพใบหน้า) เป็นต้น
ตัวอย่างการ Shared Libraries
ตัวอย่างการ Shared Libraries
  • Photo Books: แทนที่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ เลือกรูปภาพเพื่อจะปริ๊นออกมาเป็น Photo book แต่ตอนนี้ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็เสร็จแล้ว เนื่องจากกูเกิลใช้ Machine learning ในการคัดกรองรูปภาพหรือ event (เช่นงานแต่งงาน หรืองานรับปริญญา) โดยจะคัดภาพที่คุณภาพสูง และออกแบบให้พร้อมสวยงาม สไตล์ clean and modern ในระดับที่ทำเล่มได้สวยงาม
ตัวอย่างปกอ่อน ปกแข็ง ออกแบบโดย Google Photos
ตัวอย่างปกอ่อน ปกแข็ง ออกแบบโดย Google Photos

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ฟีเจอร์ Photo Books ทำได้เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และจะเปิดในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในอนาคต สนนราคา ณ ตอนนี้คือ ปกอ่อน 20 หน้า ราคา $9.99 ส่วนปกแข็ง ราคา $19.99

นอกจากนั้นกูเกิลบอกว่าในอนาคต Google Photos จะสามารถลบวัตถุในภาพที่ไม่ต้องการได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของภาพ

ความสามารถในอนาคตของ Google Photos ที่จะลบวัตถุที่ไม่ต้องการออกได้
ความสามารถในอนาคตของ Google Photos ที่จะลบวัตถุที่ไม่ต้องการออกได้

Google Home และ Google Assistant ใช้งานบน iPhone ได้แล้ว

ข่าวดีสำหรับผู้ใช้ iPhone ที่ติดใจบริการของกูเกิล ตอนนี้กูเกิลประกาศ Google Assistant ใช้งานบน iPhone ได้แล้ว (รองรับ iOS 9.1 ขึ้นไป)

Google Assistant บน iOS
Google Assistant บน iOS

พร้อมกันนี้ ได้ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Google Assistant บน Google Home เพิ่มเติม เช่น สามารถพูดให้ Google Home ตั้งนัดหมายและแจ้งเตือน พร้อมกับ sync ลงมือถืออัตโนมัติ อีกทั้งยังร่วมมือกับ partner อื่นๆ ให้ผู้ใช้งานมีตัวเลือกมากขึ้นนอกเหนือจาก Google Home เช่น August locks, TP-Link, Honeywell, Logitech และ LG

สำหรับฟีเจอร์เพิ่มเติมของ Google Home อีกอย่างก็คือสามารถรับคำสั่งเสียงให้โทรศัพท์ออกได้ รองรับการใช้งานได้หลายบัญชีและแยกแยะได้ว่าเสียงนั้นเป็นเจ้าของ Contacts ใครเพื่อไม่ให้โทรออกผิดคน โดยฟีเจอร์นี้จะรองรับในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาก่อนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และจะรองรับบริการฟังเพลงออนไลน์อย่าง Spotify, SoundCloud, Deezer และ Google Play Music อีกด้วย

Google Home

กูเกิลเปิดตัว Google Play Protect

กูเกิลเปิดบริการความปลอดภัย Google Play Protect หลายคนอาจจะงงว่า แล้วเดิมมันก็มีความปลอดภัยอยู่ไม่ใช่เหรอ แต่ Google Play Protect เป็นการตั้งแบรนด์ใหม่ที่รวมบริการความปลอดภัย มีการปกป้องรูปแบบใหม่ให้กับทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับ Google Play โดยมีข้อดีว่ามีการอัพเดทความปลอดภัยใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา และปกป้องข้อมูลและตัวเครื่องของผู้ใช้อัตโนมัติ

Play Store แสดง "No problem found" สำหรับฟีเจอร์ใหม่ Google Play Protect
Play Store แสดง “No problem found” สำหรับฟีเจอร์ใหม่ Google Play Protect

กูเกิลเคลมอีกว่า ฝั่ง Play Store กูเกิลใช้ machine learning ในการสแกนแอพกว่า 5 หมื่นล้านแอพบน Play Store ทุกวัน เพื่อหาแอพที่มีความเสียงต่อผู้ใช้ นอกจากนั้นกูเกิลยังเปิดตัว Find My Device ที่จะมาแทน Android Device Manager เดิม ซึ่งตัวนี้คล้ายกับ Fine My iPhone ของฝั่งแอปเปิล โดยสามารถหาตำแหน่งมือถือบนแผนที่ ตั้งให้มันส่งเสียง lock เครื่อง หรือแม้กระทั่งล้างเครื่องจากระยะไกลเพื่อป้องกันการขโมยข้อมูลกรณีเครื่องสูญหายอีกด้วย

เปิดตัว Google Lens

ยังไม่จบแค่นี้ กูเกิลยังเปิดตัว Google Lens ซึ่งก็คือการเปิดหน้ากล้องแล้วแพนไปรอบๆ แล้วจะมีข้อมูลต่างๆ จาก Google Assistant โชว์ขึ้นมาแบบ real-time (เหนือกว่า Bixby ของซัมซุงตรงที่ Bixby ต้องถ่ายรูปก่อน) และยังใช้ Google Assistant ในการช่วยเหลือจากการได้ข้อมูลด้วย เช่น จองตั๋วได้เลยเมื่อแพนเจอ Theatre เป็นต้น

Google Lens กับการแสดงผล Google Assistant แบบ real-time
Google Lens กับการแสดงผล Google Assistant แบบ real-time
ตัวอย่างคำสั่ง Google Assistant บน Google Lens
ตัวอย่างคำสั่ง Google Assistant บน Google Lens

Android Studio 3.0 เปิดให้นักพัฒนาทุกคนทำ Instant Apps ได้แล้ว

Instant Apps คือการรันแอพจริงๆ แบบไม่ต้องติดตั้งแอพลงเครื่องเลย โดยอาศัยเทคนิคดาวน์โหลดโมดูลมาทำงานเฉพาะส่วนชั่วคราว (ราวกับเปิดเว็บขึ้นมาหน้าหนึ่ง) มีข้อดีตรงไม่ต้องติดตั้งแอพให้เปลืองเนื้อที่ ซึ่งใช้ได้ตั้งแต่ Android 4.1 Jelly Bean เป็นต้นไป ตอนนี้เปิดให้นักพัฒนาแอพสามารถทำ Instant Apps ได้ทุกคนแล้ว (เดิมแค่ทดสอบในวงจำกัด) คาดว่าในเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เราจะเริ่มได้เห็น Instant Apps กันจริงๆ แล้ว

อื่นๆ

นอกเหนือจากที่กล่าวมา ยังมีการประกาศความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ เช่น VMware Workspace One หรือเปิดตัวพวก Google Cloud IoT Core และอื่นๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งพวกนี้จะไม่ขอกล่าวในรายละเอียดเนื่องจากเป็นเรื่องทางเทคนิคสำหรับองค์กรและนักพัฒนาเชิงลึก ซึ่งหากใครสนใจเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้จาก Google Blog ครับ

ที่มา: Android Developers Blog, The Keyword (1), The Keyword (2), The Keyword (3), Google Design

Comments

comments