SMS ปลอม แอบอ้างเป็นธนาคาร

ช่วงนี้เพื่อนๆ หลายคน ได้รับข้อความ SMS แปลกๆ โดยมีข้อความเชิญชวนให้รีบกด Link ทำนองว่า ประกาศอัปเกรด SXB ให้รีบอัปเดตทันที ระวัง อย่ากด และอย่ากรอกข้อมูลส่วนตัวเป็นอันขาด

ทางธนาคาร ได้มีการแจ้งเตือน หลังจากที่มีข่าวทาง ไทยรัฐ ว่าพบผู้เสียหายถูกโอนเงินออกจากธนาคาร หลังกรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ หลังจากที่กดเข้าไปที่เว็บไซต์และกรอกข้อมูลส่วนตัว สูญเงินร่วม 1.3 ล้านบาท

sms ปลอม SCB

Facebook ของธนาคารแห่งหนึ่ง ได้แจ้งว่า ช่วงนี้มีมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นธนาคารต่างๆ ส่ง SMS ปลอม เช่น ใช้ชื่อผู้ส่งเป็น SXB และอาจส่งมาในกล่องข้อความที่ท่านเคยได้รับจากธนาคาร มีข้อความกระตุ้นให้คลิก เช่น “อัปเกรดระบบผู้ใช้งาน” พร้อมมีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกขอข้อมูลที่สำคัญของท่าน กรุณาอย่าหลงเชื่อหรือกรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ เช่น เลขบัตรเครดิต, รหัส ATM หรือ Password รวมถึงรหัส OTP ในการทําธุรกรรม และขอเรียนว่า ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวแต่อย่างใด อ้างอิง

SMS ปลอมทาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้โพสต์แจ้งเตือน มิจฉาชีพส่ง link sxb หลอกขโมยข้อมูลออนไลน์

อ่านมาถึงตรงนี้ แม้จะระวังแค่ไหน ถ้ากดเข้าไป อาจพบข้อความ “เตือนให้ระวังมิจฉาชีพ” เพื่อกระตุ้นผู้ใช้ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เพื่ออัปเดท/อัปเกรดอีกด้วย คือทำตัวเองเตือนผู้ใช้อีกรอบ (แสบมาก)

ระวัง SMS ปลอม มีลิงก์ไปเว็บไซต์ปลอม

คำแนะนำ

พิจารณา ชื่อเว็บไซต์ และตรวจสอบกับธนาคาร ปกติธนาคารจะไม่ส่ง SMS แบบนี้ เนื่องจากหากเป็นเรื่องสำคัญ ธนาคารจะแจ้งผ่านแอป หรืออีเมล์ที่สมัครไว้กับธนาคาร (ซึ่งก็ต้องรอบคอบด้วยเช่นกัน) ที่สำคัญคือ ต้องแจ้งผ่านเพจ Facebook, LINE Official ของธนาคาร (เบอร์ Call Center ของธนาคาร)

จุดสังเกตอีเมลปลอม และ จุดสังเกตเว็บไซต์ปลอม

Block ข้อความ หากพบข้อความ อย่าเผลอกด Link ให้รีบ Block ข้อความ โดย iPhone กดเข้าไปที่รูปหน้าคน ด้านบน เลือก info จากนั้น เข้าไปด info อีกครั้ง เลือก Block this caller

พึ่งระลึกไว้เสมอว่า “ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS, LINE หรือ Facebook Messenger เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวแต่อย่างใด”

จำกัดวงเงินโอน K+

จำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมผ่านธนาคารออนไลน์

เพื่อลดความเสี่ยง แนะนำให้ตรวจสอบว่า ธนาคารที่คุณใช้ กำหนดให้โอนเงินได้วันละเท่าไหร หากตั้งค่าได้ ให้ตั้งจำนวนเงินโอน น้อยๆ เข้าไว้ เช่น 10,000 บาท ยกตัวอย่าง ธนาคารกสิกรไทย โอนเงิน เริ่มต้น 1 แสนบาท/วัน ซึ่งเราสามารถเข้าไปตั้งค่าได้ในแอป ส่วนการโอนเงินต่างธนาคาร จำกัดไว้ที่ 500,000 บาทต่อรายการ ซึ่งจากกลโกงที่เป็นข่าว เป็นการโอนในธนาคารเดียวกัน ซึ่งยอมให้โอนได้เยอะกว่าต่างธนาคาร ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์กำหนดให้ โอนเงิน สูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อวัน (ธนาคารเดียวกัน) ต่างธนาคารสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อวัน หากเรากำหนดจำนวนเงินโอน น้อยๆ หากถูกมิจฉาชีพแอบอ้างโอนเงินก็จะโอนเงินได้จำกัดจำนวนน้อยๆ เราก็จะรู้ตัวตั้งแต่สูญเงินจำนวนไม่มากนัก

จากที่หาข้อมูล คนร้ายมักจะเลือกเหยื่อที่ใช้บริการธนาคารเดียวกันกับตน เนื่องจากการโอนเงินผ่านธนาคารเดียวกัน จะโอนเงินได้มากกว่า โอนเงินต่างธนาคาร

คำแนะนำจากผู้เขียน แนะนำให้ตั้งการโอนเงินให้ยากเข้าไว้ ยิ่งถ้าไม่ต้องยืนยันตัวตนอีกครั้ง เงินยิ่งปลิวไว เลือกจำกัดวงเงินให้น้อยที่สุด ทำให้การโอนเงินยุ่งยากเข้าไว้ เพื่อความปลอดภัย

ตั้งสติ! ก่อนให้ข้อมูลใดๆ บนออนไลน์

แกงมิจฉาชีพ

วิธีนี้ ได้มาจาก ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย หากไม่แน่ใจว่าเว็บไซต์หรือ link ที่ให้เรากรอก password นั้น เป็นของจริงหรือไม่ ลองใช้วิธี “wrong password trick” โดยกรอก password ปลอมเข้าไปก่อน ถ้าสามารถเข้าสู่หน้าต่อไปได้ นั่นหมายความว่าเป็นของปลอม ที่จะมาหลอกเอาข้อมูลของเรา แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ มีคนให้ความเห็นว่า มิจฉาชีพจะรู้ว่าเราพิมพ์หลอก แนะนำไม่กรอกรหัสผ่านหากไม่ไว้ใจจะดีกว่า

แต่ถ้าเผลอกรอกข้อมูล เผลอโดนหลอก แนะนำให้ รีบแจ้งตำรวจในพื้นที่ และโทรสายด่วน ศปอส ตร 1155 หรือ 1599 ตลอด 24 ชั่วโมง และหากใช้บริการ Internet Banking, Mobile Banking ให้เก็บหลักฐานไว้ให้ครบ ทั้ง E-Mail, SMS และขอ Statement หรือรายการเดินบัญชีเตรียมไว้เลย

อ่านเพิ่มเติม : กลโกงธนาคารออนไลน์ คำแนะนำจาก Hotline 1213

ตั้งสติ! ก่อนให้ข้อมูลใดๆ บนออนไลน์

 

Comments

comments